[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by KMOBECMAXSITE 1.2.1
    


วิชาการ
เรื่อง : ความดันโลหิตสูงสาเหตุเกิดจากอะไร
บทความ



 

ความดันโลหิตสูง
               ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิต จะเป็นแรงผลักดัน ให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ
เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ ค่าปรกติของคนเราคือ 120/80 มิลิเมตรปรอท แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มีอาการเตือนดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิต
เมื่อไรจึงเรียกว่าความดันโลหิตสูง
เนื่องจากความดันโลหิตมีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องมาก การจะบอกใครเป็นความดันโลหิตสูง จะต้องมีการวัดความดันหลายครั้งและต้องพิจารณาว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ คนปรกติจะมีความดันโลหิตไม่เกิน 120/80 มิลิเมตร ความดันโลหิตที่สูงกว่า 140/90 มิลิเมตรปรอทจะเรียกว่าความดันโลหิตสูง นอกจากนั้นยังมีภาวะอื่นๆอ่านความดันโลหิตสูงที่นี่
อาการของโรคความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการอะไรเนื่องจากร่างกายมีการปรับตัว ผู้ป่วยมักจะมาด้วยโรคหัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ไตวาย ตามัว สำหรับผู้ที่ความดันปกติให้วัดความดันโลหิตทุก 2 ปี อาการความดันโลหิต
 
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยที่ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือความดันโลหิตที่ไม่ทราบสาเหตุเรียกว่า Primary hypertension ส่วนอีกกลุ่มได้แก่ความดันโลหิตสูงเรียก Secondary hypertension ผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุจะเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุดประมาณร้อยละ 95 เชื่อว่ามีสาเหตุหลายชนิดมารวมกันทำให้ความดันสูง อ่านสาเหตุของความดันโลหิตสูงที่นี่
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
แม้ว่าท่านยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่่มีปัจจัยเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง จะมีโอกาศเป็นโรคความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่เป็นความดันโลหิตสูง เมื่อท่านลดปัจจัยเสี่ยงของความดันโลหิตสูงความดันของท่านก็จะลดลง ปัจจัยเสี่ยงความดันโลหิตสูง
ทำไมต้องรักาษาโรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงไม่มากหรือความดันค่อยๆสูงมักจะไม่มีอาการ หลายท่านไม่ยอมรับประทานยา หลายท่านหยุดยาเมื่อรับประทานยาได้สักระยะหนึ่ง หลายท่านกลัวว่าหากรับประทานยามากๆจะทำให้เกิดโรคไต แต่ผู้ป่วยและญาติคงต้องทราบว่าหากไม่รักษาจะเกิดอะไรได้บ้าง โรคความดันมีผลต่ออวัยวะใดบ้าง อ่านผลของความดันต่ออวัยวะที่สำคัญ
การวินิจฉัยความดันโลหิตสูง
สิ่งที่สำคัญของการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงคือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นโรคหรือไม่ ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตเป็นอย่างไร นอกจากนั้นจะต้องตรวจหาสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง ตรวจอวัยวะต่างๆว่าได้ผลกระทบจากโรคความดันโลหิต และตรวจว่ามีโรคแทรกซ้อนจากความดันหรือยัง การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง
 
การวัดความดันโลหิต
การวัดความดันโลหิตที่ถูกต้องจะได้ค่าความดันโลหิตที่ถูกต้อง หากใช้เครื่องมือไม่เหมาะสม หรือการวัดผิดวิธีก็จะได้ค่าความดันผิด การวัดความดันโลหิตจะต้องใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง การเตรียมตัวที่ถูกต้อง การวัดที่ถูกต้อง วิธีวัดความดันโลหิตมีได้หลายวิธี อ่านเรื่องการวัดความดันโลหิตที่นี่
ประโยชน์ของการรักษาความดันโลหิต
การลดความดันโลหิตนอกจากจะลดอาการปวดศีรษะเนื่องจากความดันสูง แต่การลดความดันโลหิตยังลดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากความดันโลหิตสูง เช่นหัวใจ จะลดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจโต โรคไต ลดการเกิดโปรตีนในปัสสาวะ นอกจากนั้นยารักษาความดันบางชนิดยังลดการเกิดโรคเบาหวาน ประโยชน์ของการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
เมื่อไรจึงจะเริ่มรักษาความดันโลหิตสูง
การจะเริ่มต้นรักษาความดันโลหิตจะต้องพิจารณาถึง ระดับความดันโลหิต โรคหรือภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อวัยวะเสียหายจากความดันโลหิต โรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิต เมื่อไรจึงจะรักษาโรคความดันโลหิต
การรักษา
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงแบ่งได้เป็น การรักษาที่ไม่ใช้ยาได้แก่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการรักษาด้วยยา นอกจากนั้นจะต้องรักษาโรคแทรกซ้อน และการป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดอ่านการรักษาความดันโลหิตที่นี่
 
 
โรคแทรกซ้อนของความดันโลหิต
โรคความดันโลหิตสูงทำให้เกิดหลอดเลือดตีบ ซึ่งหากไปเลี้ยงอวัยวะไม่พอก็จะเกิดเสียหายต่ออวัยวะนั้น และหากกิดลิ่มเลือดจากผนังหลอดเลือดก็จะเกิดโรคที่อวัยวะนั้นแบบเฉียบพลัน โรคแทรกซ้อนได้หลายระบบ ได้แก่ หัวใจและหลอดเลือด สมอง ไต เท้า ตา อ่านโรคแทรกซ้อนที่นี่
การป้องกันความดันโลหิตสูง
การป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสามารถนำมาใช้กับผู้ที่ร่างกายปรกติ หรือกลุ่มที่ความดันเริ่มจะสูง หรือกลุ่มผู้ป่วยที่ความดันโลหิตสูงแล้ว การป้องกันความดันโลหิตสูงจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยสามารถลดความดันโลหิตได้ประมาณ 20 มม.ปรอทอ่านการป้องกันความดันโลหิตสูงที่นี่
สัญญาณเตือนภัยของโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน
โรคความดันโลหิตสูงจะมีโรคแทรกซ้อนเฉียบพลันที่สำคัญคือหัวใจและสมอง โรคระบบทั้งสองจะมีอาการเตือนล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดความพิการ เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะมีอาการเจ็บหน้าอกเป็นหลัก ส่วนโรคหลอดเลือดสมองจะมีอาการอ่อนแรง หรือเดินเซ เป็นต้นผู้ที่เป็นโรคความดันต้องเรียนรู้สัญญาณเตือนภัย
ความดันโลหิตและสุภาพสตรี
โรคความดันโลหิตสูงและสตรีมีเรื่องจิจารณามากว่าผู้ชายกล่าวคือ เรื่องการรับประทานยาคุมกำเนิดจะมีผลต่อความดัน การตั้งครรภ์ก็มีผลต่อความดันโลหิตสูง วัยทอง รวมทั้งน้ำหนักตัวที่เพิ่มมีผลต่อสุขภาพโดยรวมของสตรี สตรีจะมีโอกาศเป็นความดันโลหิตสูงหากรับประทานยาคุมกำเนิด ตั้งครรภ์หรือวัยทอง อ่านที่นี่
 
 
 
ความดันโลหิตต่ำ
ปกติความดันโลหิตยิ่งต่ำยิ่งดีเพราะเกิดโรคน้อย แต่หากความดันโลหิตที่ต่ำทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ เป็นลมเวลาลุกขึ้นแสดงว่าความดันต่ำไป สาเหตุที่พบได้มีดังนี้
  • ผู้ป่วยที่มีโรคระบบประสาทหรือต่อมไร้ท่อ
  • ผู้ที่นอนป่วยนานไป
  • ผู้ที่เสียน้ำหรือเลือด
เคล็ดลับในการรักษาความดันโลหิตสูง
1.      ตรวจวัดความดันเป็นระยะ
2.      รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ โดยการลดน้ำหนักลง 10% สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
3.      งดอาหารเค็มหรือเกลือไม่ควรได้รับเกลือเกิน 6 กรับต่อวัน
4.      รับประทานอาหารไขมันต่ำ
5.      งดการสูบบุหรี่
6.      รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
7.      ไปตามแพทย์นัด
8.      ออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำโดยการออกกำลังวันละ 30-45 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วัน
9.      รับประทานอาหารที่มีเกลือโปแตสเซียม
10.แนะนำให้พาพ่อแม่พี่น้องและลูกไปตรวจวัดความดันโลหิต
ความดันโลหิตสูงในเด็ก
เราไม่ค่อยพบความดันโลหิตสูงในเด็ก แต่เด็กก็สามารถเป็นความดันโลหิตสูง การค้นพบความดันโลหิตสูงตั้งแต่แรก จะสามารถป้องกันโรคหัวใจ โรคไต ดังนั้นเด็กควรที่จะได้รับการวัดความดันโลหิตเหมือนผู้ใหญ่ สาเหตุก็มีทั้ง primary และ secondary พบว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวมาก เด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิต หรือบางเชื้อชาติ กลุ่มเหล่านี้จะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง แพทย์แนะนำอาหาร และการออกกำลังกาย หากความดันโลหิตไม่ลงจึงให้ยารับประทาน
คนที่เป็นความดันโลหิตสูงสามารถอบ Sauna ได้หรือไม
คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงสามารถอาบน้ำอุ่นหรืออบ Sauna ได้โดยที่ไม่เกิดผลเสีย ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจหอบควรจะหลีกเลี่ยงการอบ Sauna หรือแช่น้ำร้อน และไม่ควรที่จะดื่มสุรา นอกจากนั้นไม่ควรอาบน้ำร้อนสลับกับน้ำเย็นเพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
 
 

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
ไม่ว่าคุณจะมีเชื้อชาติอะไร เพศ อายุเท่าใด คุณสามารถป้องกันความดันโลหิตสูง หรือการรักษาความดันโลหิตสูงโดยที่ไม่ต้องใช้ยาโดยวิธีการดังต่อไปนี้ที่เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการรักษาความดันโลหิตสูงโดยไม่ต้องใช้ยาหรือที่เรียกว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตารางแสดงวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและระดับความดันโลหิตที่ลด
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
คำแนะนำ
ความดันที่ลด
น้ำหนัก
รักษาน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายไม่เกิน 23
5-20 มม.ปรอท/ นน 10 กกที่ลด
รับประทานอาหารตามหลักของ DASH
รับประทานผัก ผลไม้ให้มาก ลดอาหารที่มัน และไขมันอิ่มตัว
8-14 มม.ปรอท
งดเค็ม
ปริมาณโซเดียมน้อยกว่า 100 mEg/L(เกลือน้อยกว่า 6 กรัม/วัน)
2-8 มม.ปรอท
การออกกำลังกาย
ออกกำลังกายวันละ 30นาทีอย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์
4-9 มม.ปรอท
ลดการดื่มสุรา
ชายน้อยกว่า 2 หน่วย หญิงน้อยกว่า 1 หน่วย
2-4
1.      ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากคุณอ้วนให้รีบลดน้ำหนัก
4.      ให้ลดปริมาณแอลกอฮอล์ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
5.      งดบุหรี่ เป็นวิธีการที่ได้ผลดีในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
7.      รับประทานอาหารที่มีคุณภาพโดยการลดอาหารเค็ม ลดอาหารมันเพิ่มผักผลไม้โดยการรับประทานอาหารลดความดันโลหิต
8.      ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่เพราะมียาบางตัวทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
9.      การจะใช้ยาคุมกำเนิดต้องปรึกษาแพทย์
หลักการดังกล่าวสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงได้ ที่สำคัญคือต้องงดบุหรี่
1ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
เมื่อน้ำหนักเพิ่มความดันก็จะเพิ่ม คนอ้วน จะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติ 2-6 เท่า วิธีการลดน้ำหนักที่ดีควรจะลดไม่เกินสัปดาห์ละ 1/2 กิโลกรัมโดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีพลังงานน้อยร่วมกับการออกกำลังกาย วิธีการลดน้ำหนักมีดังนี้
  • เลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ อาหารไขมันต่ำ จะให้พลังงานน้อย อาหารที่ให้พลังงานมากควรหลีกเลี่ยงได้แก่ เนย น้ำสลัด เนื้อติดมัน เนื้อติดหนัง นมสด ของทอดเช่นปลาท่องโก๋ กล้วยแขก ไก่ทอด เค้ก คุกกี้ให้เลือกอาหารที่มีพลังงานน้อยเช่นใช้อบหรือเผาแทนการทอด เลือกไก่ไม่ติดหนัง ปลา ดื่มนมพร่องมันเนยแทนนมสด รับประทานผักให้มาก
  • เลือกอาหารที่มีแป้งและใยให้มาก 
  • ใช้จานใบเล็กและห้ามตักครั้งที่สอง ควรจดรายการอาหารที่รับประทานทุกครั้ง ไม่ควรรับประทานอาหารว่างขณะดูทีวี ไม่ควรงดอาหารมื้อหนึ่งแล้วชดเชยมื้อต่อไป
  • ให้เพิ่มออกกำลังกายเพิ่ม การออกกำลังกายหรือการทำงานบ้านจะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงาน ทำให้น้ำหนักลดตารางข้างล่างจะแสดงพลังงานที่ใช้ในการออกกำลังกาย
พลังงานที่เผาผลาญ
กิจกรรม
พลังงานที่ใช้ใน 1 ชม.
 
ผู้ชาย
ผู้หญิง
ออกกำลังกายแบบเบา
300
240
ทำความสะอาดบ้าน
 
 
เล่นเบสบอล
 
 
ตีกอล์ฟ
 
 
ออกกำลังกายปานกลาง
460
370
เดินเร็วๆ
 
 
ทำสวน
 
 
ขี่จักรยาน
 
 
เต้นรำ
 
 
เล่นบาสเกตบอล
 
 
ออกกำลังกายมาก
730
580
วิ่งจ๊อกกิ้ง
 
 
เล่นฟุตบอล
 
 
ว่ายน้ำ
 
 
2.      ให้ร่างกายได้ใช้พลังงานให้มาก การออกกำลังกายนอกจากทำให้น้ำหนักลดแล้วยังลดไขมัน cholesterolในเลือด และเพิ่ม HDL นอกจากการออกกำลังกายแล้ว ท่านผู้อ่านยังสามารถทำให้ร่างกายมีการออกกำลังอยู่ตลอดเวลา เช่นใช้บันไดแทนลิฟท จอดรถก่อนถึงที่ทำงานแล้วเดินต่อ ขี่จักรยานแทนการนั่งรถ ตัดหญ้า ทำสวน ไปเต้นรำเป็นต้น ผู้ป่วยสามารถออกกำลังได้เลยโดยที่ไม่ต้องปรึกษาแพทย ์นอกจากท่านจะมีอาการดังต่อไปน ี้ขณะออกกำลังกาย แน่นหน้าอก จะเป็นลมขณะออกกำลังกาย หายใจเหนื่อยเมื่อเริ่มออกกำลังกาย หรืออายุกลางคนโดยที่ไม่ได้ออกกำลังกาย การออกกำลังกายควรออกแบบ aerobic คือออกำลังกายแล้วร่างกายใช้ออกซิเจนเพื่อให้พลังงาน ควรออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ2-5 ครั้งยิ่งออกกำลังกายมากจะช่วยลดความดันโลหิตลงได้มาก มีรายงานว่าสามารถลดระดับความดันโลหิตลงได้ 5-15 มิลิเมตรปรอท ตารางแสดงแนวทางการออกกำลังกาย
3.      เลือกอาหารที่มีเกลือต่ำ การลดอาหารเค็มจะช่วยป้องกันและลดความดันโลหิต อ่านที่นี่
ได้ โดยทั่วไปห้ามกินเกลือเกิน 6 กรัมหรือ 1 ช้อนชา(เท่ากับ โซเดียม 2400 มิลิกรัม) แต่แนะนำให้รับประทานเกลือ 1500 มิลิกรับเทียมเท่าปริมาณเกลือ 4 กรัมหรือ2/3 ช้อนชาท่านผู้อ่านไม่ควรปรุงรสอาหารก่อนชิมอาหาร หากปรุงรสอาหารเองต้องเติมเกลือให้น้อยที่สุด   ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง  

เกลือ 1/4 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 500 มิลิกรัม
เกลือ 1/2 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 1000 มิลิกรัม
เกลือ 2/3 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 1500 มิลิกรัม
เกลือ 1 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 2400 มิลิกรัม

  • หากท่านซื้ออาหารกระป๋องท่านต้องอ่านสลากอาหารเพื่อดูปริมาณสารอาหารเลือกที่มีเกลือต่ำ
  • รับประทานอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้ แทนการรับประทานอาหารที่ผ่านขบวนการถนอมอาหาร
  • ไม่เติมเกลือหรือน้ำปลาเพิ่มในอาหารที่ปรุงเสร็จ
  • หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม เช่น หมูเค็ม เบคอน ไส้กรอก ผักดอง มัสตาร์ด และเนยแข็ง
  • อาหารตากแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม หอยเค็ม กุ้งแห้ง ปลาแห้ง
  • เนื้อสัตว์ปรุงรสได้แก่ หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง
  • อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่สำเร็จรูป โจ๊กซอง ซุปซอง
  • อาหารสำเร็จรูปบรรจุถุง เช่น ข้าวเกรียบ ข้าวตังปรุงรส มันฝรั่ง
  • เครื่องปรุงรสที่มีเกลือมากเช่น ซุปก้อน ผงชูรส ผงฟู
  • อาหารหมักดองเค็ม เช่น กะปิ เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ไตปลา ไข่เค็ม ผักดองผลไม้ดอง แหนม ไส้กรอกอิสาน
4.      จำกัดการดื่มแอลกอฮอล จากการศึกษาพบว่าปริมาณสุราที่ดื่มจะมีส่วนสัมพันธุ์กับระดับความดันโลหิต สำหรับผู้ที่ดื่มสุราปริมาณปานกลาง ระดับความดันโลหิตจะลดลงในช่วง 1-2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะกลับสู่ปกติ สำหรับผู้ที่ดื่มสุราอย่างมาก (ประมาณห้าเท่าของที่แนะนำ) จะพบว่าระดับความดันโลหิตจะสูงหลังจากหยุดสุรา ดังนั้นจะพบว่าหลังจากดื่มสุรามากในวันหยุดจะมีความดันสูงในวันทำงาน การลดสุราจะทำให้ระดับความดันโลหิตลดลง
o    ผู้ชายให้ดื่มไม่เกิน 2 drink(20–30 g ethanol per day) ผู้หญิงไม่เกิน 1 drink(10–20 g
ethanol per day)   1 drink เท่ากับ
§ วิสกี้ 45 มล.
§ ไวน์ไม่เกิน 150 มล..
§ เบียร์ไม่เกิน300 มล.
นอกจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นการได้รับโปแตสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และน้ำมันปลายังช่วยลดความดันโลหิตในผู้ป่วยบางราย
ผลไม้ที่มีโปแทสเซี่ยมสูง
ผักที่มีโปแทสเซียมสูง
Apple
Apple juice
Apricot
Avocado*
Banana*
Cantaloupe*
Date
Grapefruit
Grapefruit juice*
Honeydew melon*
Nectarine*
Orange juice
Prune*
Prune juice*
Raisin*
Watermelon
 
 
Asparagus
Beans, white or green
Broccoli
Brussels sprouts
Cabbage (cooked)
Cauliflower (cooked)
Corn on the cob
Eggplant (cooked)
Lima beans (fresh and cooked)
Peas, green (fresh and cooked)
Peppers
Potatoes* (baked or boiled)
Radishes
Squash, summer and winter (cooked)
  • โปแตสเซียม potassium  มีมากในผักผลไม้ปลาถั่วกล้วยน้ำส้มมะเขือเทศ ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงควรจะรับอาหารเหล่านี้เพิ่มเพื่อป้องกันการขาดเกลือโปแทสเซียม
  • แคลเซียม calcium พบมากในนมไข่ผัก
  • แมกนีเซียม magnesium พบมากในผักใบเขียวถั่ว

ไขมันน้ำมันปลารับประทานมากจะลดความดันโลหิตได้แต่ไม่แนะนำเนื่องจากจะทำให้อ้วน



ผู้เขียน : khunsuphot
หน่วยงาน : สพป.สป.2
พฤหัสบดี ที่ 18 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2555
เข้าชม : 94524
2.5 stars เฉลี่ย : 2.5 จาก 11 ครั้ง.


วิชาการ 5 อันดับล่าสุด

      ประเทศไทยได้อะไรบ้างจากสมาคมอาเซี่ยน 22 / ต.ค. / 2555
      ความรู้เกี่ยวกับระบบ 3G 22 / ต.ค. / 2555
      คู่มือการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีวิทยฐานะและหรือเลื่อนวิทยฐานะสายงานการบริหารการศึกษา (ว.17) 18 / ต.ค. / 2555
      ความดันโลหิตสูงสาเหตุเกิดจากอะไร 18 / ต.ค. / 2555
      ภาษาไทยวันคะมำ 26 / ก.ค. / 2555


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้
คลิกที่นี่สมัครสมาชิก